fertilizer price list 2012

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

ปุ๋ยแพง : ราคาพุ่งตามตลาดโลก...เกษตรกรและผู้ค้าปุ๋ยต้องเร่งปรับตัว - Positioning Magazine


สอบถามราคาปุ๋ยเคมีทุกสูตรและแบรนด์ต่าง ๆ ท่านสามารถสอบถามได้ที่ 035-439676 จัดส่งฟรี
ราคาปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ราคา 690 บาท,ปุ๋ยเคมีสูตร 30-0-0 ราคา 750 บาท ,ปุ๋ยเคมีสูตร 36-0-0 ราคา 660 บาท,ปุ๋ยเคมีสูตร 16-8-8 ราคา 660 บาทปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ราคา 750 บาท,ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 ราคา 690 บาท,ปุ๋ยเคมีสูตร 15-7-18 ราคา 730 บาท,ปุ๋ยเคมีสูตร 18-6-7 ราคา 660 บาท,ปุ๋ยเคมีสูตร 20-8-20 ราคา 780 บาท,ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-12 ราคา 730 บาท,ปุ๋ยเคมีสูตร 3-9-20 ราคา 750 บาท,ปุ๋ยเคมีสูตรรองพื้น ราคา 450 บาท,ปุ๋ยอินทรีย์ ราคา ราคา 250 บาท 

เปิดร้านขายปุ๋ยเคมี 16_16_8 ราคาถูก 2555 รับหน้าโรงงาน
.............................................................................................................................................................

ปุ๋ยแพง : ราคาพุ่งตามตลาดโลก...เกษตรกรและผู้ค้าปุ๋ยต้องเร่งปรับตัว - Positioning Magazine
สถานการณ์ราคาปุ๋ยเคมีในตลาดโลกในปัจจุบันยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง และคาดว่าในอีก 2 เดือนข้างหน้าราคาปุ๋ยเคมีจะปรับเพิ่มขึ้นอีกราวร้อยละ 20 และในบางสูตรที่เป็นแม่ปุ๋ยอาจปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 รวมทั้งยังมีการคาดการณ์ว่าราคาปุ๋ยเคมีนั้นมีแนวโน้มจะแพงต่อเนื่องไปอีก 2 ปี นับว่าราคาปุ๋ยเคมีพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ ประเด็นที่ต้องกังวลคือ ปุ๋ยเคมีเมื่อราคาเพิ่มอยู่ในเกณฑ์สูงแล้วโอกาสที่จะลดลงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากจัดเป็นอุตสาหกรรมหนัก การขยายการผลิตต้องอาศัยเวลานานนับเป็นปีหรือหลายปี ไม่เหมือนกับสินค้าเกษตรที่เมื่อราคาอยู่ในเกณฑ์สูง จูงใจให้มีการขยายการผลิตได้ในฤดูกาลถัดไป ซึ่งเป็นช่วงเวลาสั้นๆเพียงแค่ 3-6 เดือน 

ปัญหาราคาปุ๋ยแพงยังเป็นปัญหาใหญ่ของเกษตรกรไทย เนื่องจากโดยเฉลี่ยต้นทุนปุ๋ยเคมีคิดเป็นร้อยละ 19-20 ของต้นทุนการเพาะปลูกพืชทั้งหมด ดังนั้นการที่ราคาปุ๋ยเคมียังมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบทำให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรสูงขึ้น เกษตรกรจึงเสียโอกาสที่จะได้อานิสงส์จากการที่ราคาพืชผลอยู่ในเกณฑ์สูงในปัจจุบัน ปัญหาปุ๋ยเคมีราคาแพงจึงเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรทั่วประเทศ 

ราคาปุ๋ยเคมีตลาดโลก...พุ่งต่อเนื่อง 
ปัจจุบันทั่วโลกเกิดความวิตกในเรื่องความเพียงพอของปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรส่งผลให้ความต้องการปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากความต้องการปุ๋ยเคมีในภูมิภาคลาตินอเมริกา เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งความต้องการปุ๋ยเคมีของทั้ง 3 กลุ่มภูมิภาคนี้คิดเป็นร้อยละ 89 ของความต้องการปุ๋ยเคมีในตลาดโลก คาดการณ์ว่าความต้องการปุ๋ยเคมี(ในลักษณะของปุ๋ยธาตุหลัก)ทั่วโลกในปี 2550/51 จะเพิ่มขึ้นเป็น 170.3 ล้านตันธาตุอาหาร เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของความต้องการปุ๋ยโปแตส 

ในปี 2551/52 ทุกประเทศหันมาสนใจขยายพื้นที่การเกษตร ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงด้านอาหารของประเทศและเพื่อการรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อของประเทศไม่ให้เพิ่มขึ้นอันเนื่องจากราคาอาหารมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้นคาดการณ์ว่าความต้องการปุ๋ยเคมี(ในลักษณะของปุ๋ยธาตุหลัก)ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในปี 2551/52 ความต้องการปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นเป็น 175.8 ล้านตันธาตุอาหาร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ซึ่งปุ๋ยเคมีที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ ปุ๋ยโปแตสที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.4 ขณะที่ความต้องการปุ๋ยฟอสเฟตและปุ๋ยไนโตรเจนก็เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 3.8 และร้อยละ 2.7 ตามลำดับ 

ความต้องการปุ๋ยเคมีที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ทรัพยากรในตลาดโลกมีจำกัด โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตปุ๋ย เช่น ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติได้แก่ แอมโมเนียและยูเรีย ทำให้เกิดการแย่งซื้อปุ๋ยเคมีในตลาดโลก ส่งผลให้ราคาปุ๋ยเคมีปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กล่าวคือ ราคาปุ๋ยเคมีในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ย 1-3 เท่าตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และยังมีการคาดหมายว่าราคาปุ๋ยเคมีในตลาดโลกยังคงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเช่นนี้ต่อไปอีก 2-3 ปี ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ราคาปุ๋ยเคมีพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ คือ ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลกระทบของราคาน้ำมันต่ออุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี แยกวิเคราะห์ออกเป็น 2 ประเด็นดังนี้ 

ปุ๋ยเคมีโดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนเป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ (กรณีจีนผลิตปุ๋ยไนโตรเจนจากถ่านหิน) ดังนั้นราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลโดยตรงต่อราคาปุ๋ยไนโตรเจนที่จะปรับเพิ่มตามไปด้วย รวมทั้งมีปัจจัยผลักดันให้ราคาปุ๋ยไนโตรเจนเพิ่มสูงขึ้นไปอีก คือ จีน ซึ่งเป็นประเทศที่ส่งออกปุ๋ยไนโตรเจนที่สำคัญ ประกาศขึ้นภาษีปุ๋ยไนโตรเจนจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 135 ในระหว่างวันที่ 20 เมษายน -30 กันยายน2551 รวมทั้งประกาศปิดท่าเรือทั่วประเทศในช่วงมหกรรมโอลิมปิก ทำให้ในช่วงปลายไตรมาสสองและไตรมาสสามราคาปุ๋ยไนโตรเจนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก ประเด็นที่ต้องจับตามองคือ ในไตรมาส4 จีนจะปรับลดภาษีส่งออกปุ๋ยไนโตรเจนกลับไปอยู่ที่ร้อยละ 30 ตามเดิมหรือไม่ ดังนั้นผู้นำเข้าปุ๋ยไนโตรเจนจึงเร่งสั่งซื้อปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อตุนไว้ และต้องประคองการจำหน่ายปุ๋ยไนโตรเจนที่มีอยู่ในสต็อก เพื่อไม่ให้เกิดภาวะขาดแคลนปุ๋ย และรอสั่งปุ๋ยไนโตรเจนล็อตใหม่หลังวันที่ 1 ตุลาคม 2551 

สำหรับปุ๋ยฟอสเฟตและปุ๋ยโปแตสราคาก็มีแนวโน้มพุ่งขึ้นเช่นเดียวกับปุ๋ยไนโตรเจน เนื่องจากแม่ปุ๋ยทั้งสองชนิดนี้มีข้อจำกัดในการผลิต ไม่สามารถขยายการผลิตได้ทันกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น 

 ผลกระทบทางอ้อมของราคาน้ำมันที่พุ่งอย่างต่อเนื่องต่ออุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี 
โดยหลายประเทศทั่วโลกเพิ่มปริมาณการปลูกพืชพลังงานทดแทน โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ลาตินอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวคือ สหรัฐฯขยายการผลิตเอธานอล ทำให้ต้องขยายพื้นที่ผลิตข้าวโพด ซึ่งไปเบียดแย่งพื้นที่ปลูกถั่วเหลือง ทำให้ปริมาณความต้องการน้ำมันปาล์มเพื่อทดแทนน้ำมันถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น ส่วนในลาตินอเมริกาขยายการปลูกอ้อย ส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เป็นต้น 

ในขณะที่ความต้องการสินค้าอาหารเพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของจำนวนประชากรโลก ความผันผวนของภูมิอากาศเนื่องจากผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรลดลง กล่าวคือ สัดส่วนของปริมาณพืชผลต่อความต้องการลดลงร้อยละ 12.7 ทำให้ราคาสินค้าเกษตรสำคัญทุกชนิดทุบสถิติสูงสุดในปีการผลิต 2550/51 โดยเฉพาะธัญพืชสำคัญทั้งข้าว ข้าวโพด และข้าวสาลี 

นอกจากนี้ การพัฒนาเศรษฐกิจทำให้ระดับรายได้ของประชากรโดยเฉพาะในจีนและอินเดียมีแนวโน้มสูงขึ้น และมีการปรับพฤติกรรมการบริโภค โดยการหันมาบริโภคเนื้อสัตว์ทดแทนแป้ง ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วการรับประทานเนื้อสัตว์เพิ่ม 1 กิโลกรัมต้องผลิตธัญพืชเพิ่มเพื่อนำไปผลิตอาหารสัตว์ 4 กิโลกรัม ทำให้บรรดาเกษตรกรต้องขยายเนื้อที่ปลูกธัญพืชเพื่อผลิตเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้กับบรรดาผู้เลี้ยงปศุสัตว์ ข้อจำกัดของเนื้อที่สำหรับทำการเกษตรทำให้มีการแย่งพื้นที่กันระหว่างการปลูกพืชพลังงาน พืชอาหารและพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ ทำให้เกษตรกรมีความต้องการปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพื่อเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ให้เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 

จากความต้องการปุ๋ยเคมีในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะที่ปริมาณการผลิตปุ๋ยเคมีนั้นเพิ่มไม่ทันกับความต้องการ ทำให้ราคาปุ๋ยเคมีปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 2-3 เท่าตัว โดยเฉพาะแม่ปุ๋ยเคมี 3 ชนิดที่สำคัญประกอบด้วยยูเรีย ซึ่งเป็นปุ๋ยไนโตรเจนประเภทหนึ่ง ราคาในเดือนพฤษภาคม 2551 อยู่ที่ระดับ 700 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน เพิ่มขึ้นจากในเดือนมกราคม 2551 ที่อยู่ในระดับ 440 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน และเมื่อเดือนธันวาคม2550 ราคาอยู่ที่ 210 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตันเท่านั้น สำหรับปุ๋ยธาตุอาหารอีก 2 ชนิดที่จำเป็นและมีแหล่งผลิตจำกัดในตลาดอย่างฟอสฟอรัส ซึ่งแหล่งผลิตใหญ่อยู่ในตะวันออกกลาง ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว จากปี 2550 ที่ราคาอยู่ที่ 250 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน แต่ล่าสุดในเดือนพฤษภาคม 2551 ราคาปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 900 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน และยังมีโอกาสจะปรับตัวสูงขึ้นมาก ขณะเดียวกัน โพแทสเซียมจากแม่ปุ๋ยโปแตสก็ปรับตัวจากราคา 215 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตันในปี 2550 ขึ้นมาอยู่ที่ 750 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตันในปัจจุบัน ผู้ผลิตรายใหญ่คือ แคนาดาและจอร์แดน ประกาศว่าในช่วงไตรมาส3 ราคาจะเพิ่มขึ้นอีก 1,000 ดอลลาร์/ตัน (ในช่วงที่ผ่านมาราคาจะขึ้นเร็วกว่าที่ประกาศไว้) 

ราคาปุ๋ยเคมีในไทย...พุ่งตามราคาในตลาดโลก 
ปุ๋ยเคมีที่จำหน่ายในไทยเป็นปุ๋ยเคมีที่นำเข้าทั้งหมด จากมูลค่าการนำเข้าปุ๋ยเคมีแยกตามประเภทแม่ปุ๋ยและปุ๋ยผสมจะเห็นได้ว่าประเทศไทยนั้นนำเข้าปุ๋ยไนโตรเจนมากที่สุด รองลงมาจะเป็นปุ๋ยผสม โดยแหล่งนำเข้าปุ๋ยไนโตรเจนของไทยนั้นคือ มาเลเซียและอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศในกลุ่มเขตการค้าเสรีอาเซียน ส่วนปุ๋ยผสมนั้นแหล่งนำเข้าสำคัญคือ จีน อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าจีนนั้นเป็นแหล่งนำเข้าปุ๋ยเคมีที่สำคัญของไทยเกือบทุกชนิดยกเว้นปุ๋ยโปแตส ดังนั้น เมื่อจีนมีการเพิ่มภาษีส่งออกปุ๋ยเป็นร้อยละ 135 จากเดิมที่อยู่ในอัตราร้อยละ 30 ตั้งแต่วันที่ 17 เมษายนถึงสิ้นเดือนกันยายน รวมทั้งการที่จีนปิดท่าเรือทั้งประเทศตั้งแต่เดือนมิถุนายนไปจนถึงเสร็จสิ้นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ส่งผลกระทบต่อทั้งราคานำเข้าและปริมาณปุ๋ยเคมีในประเทศไทยเป็นอย่างมาก จึงคาดหมายได้ว่าในปี 2551 เกษตรกรไทยต้องเผชิญกับปัญหาปุ๋ยเคมีราคาแพงเป็นประวัติการณ์โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลัง 

การนำเข้าปุ๋ยเคมีขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ราคาปุ๋ยในตลาดโลก ภาวะการผลิตทางการเกษตรในประเทศ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น ดังนั้นอัตราการขยายตัวของมูลค่าการนำเข้าปุ๋ยเคมีจึงไม่ค่อยแน่นอนขึ้นอยู่กับความผันแปรของปัจจัยต่างๆ โดยมูลค่าการนำเข้าปุ๋ยเคมี ถ้าพิจารณาแยกปุ๋ยเคมีที่นำเข้าแยกตามสูตรปุ๋ยที่สำคัญจะทำให้เห็นถึงความต้องการปุ๋ยเคมีของตลาดในประเทศไทยชัดเจนมากยิ่งขึ้น 

ดังนั้น ราคาปุ๋ยเคมีของไทยจึงอิงกับราคาปุ๋ยเคมีในตลาดโลก ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับราคาปุ๋ยเคมีนำเข้าที่ปรับเพิ่มขึ้นนี้ เป็นการปรับเพิ่มขึ้นทุกเดือนตั้งแต่ม.ค.-มี.ค.2551เฉลี่ยร้อยละ 17-20 ต่อเดือน ทำให้ผู้ค้าปุ๋ยเคมียื่นเรื่องต่อกระทรวงพาณิชย์ขอปรับราคาปุ๋ยเคมีขึ้นให้สอดคล้องกับต้นทุนนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมาอย่างมาก 

ผู้ค้าปุ๋ยขอปรับราคา...แต่รัฐยังตรึงราคาไว้ก่อน 
ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2551 ผู้ประกอบการปุ๋ยจำนวน 7 ราย ได้แจ้งขอปรับราคาและขอตั้งราคาจำหน่าย ณ โรงงานปุ๋ยเคมีนำเข้าและผลิตในประเทศ ต่อกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 123 รายการ แยกเป็นขอปรับราคา 104 รายการ และขอตั้งราคา 19 รายการ เนื่องจากราคาวัตถุดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรายการดังกล่าวได้ยื่นขอปรับราคามาตั้งแต่เดือนเม.ษ.2550 จนถึงเดือน พ.ค.2551 แต่ยังไมได้รับการพิจารณาอนุมัติให้ปรับราคา 

กรมการค้าภายในวิเคราะห์ต้นทุนราคาจำหน่ายส่งหน้าโรงงานของปุ๋ยสูตรหลัก 4 สูตร ได้แก่ สูตร 46-0-0 สูตร 15-15-15 สูตร 16-20-0 และสูตร 21-0-0 โดยคำนวณจากต้นทุนวัตถุดิบนำเข้า ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและกำไรที่ผู้ประกอบการควรได้ ซึ่งคิดที่ร้อยละ 2-3 ของต้นทุนรวมได้ข้อสรุปแล้วเห็นควรให้ปรับราคาปุ๋ยหน้าโรงงาน ซึ่งการปรับขึ้นนั้นจะคำนวณแยกตามสูตรปุ๋ยและลักษณะการผลิตปุ๋ย เนื่องจากมีต้นทุนการนำเข้าที่แตกต่างกัน ส่วนราคาจำหน่ายปลีกจะต้องมีการบวกค่าขนส่งไปยังภาคต่างๆระหว่าง800-1,200 บาทต่อตัน โดยภาคเหนือบวกค่าขนส่ง 1,200 บาท ภาคเหนือตอนล่าง 1,000 บาท ภาคกลาง 800 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,000 บาท และภาคใต้ 1,200 บาท ทั้งนี้ จะต้องเพิ่มส่วนเหลื่อมการค้าช่วงจำหน่ายส่งและจำหน่ายปลีกอีกตันละ 500 บาทด้วย 

หลังจากที่กรมการค้าภายในวิเคราะห์ราคาปุ๋ยเคมีสูตรหลักและนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการพิจารณาราคาปุ๋ยเคมี ซึ่งคณะอนุกรรมการฯมีมติให้ผู้ค้าตรึงราคาจำหน่ายปุ๋ยเคมีไว้ก่อน ในขณะที่ผู้ค้ายืนยันจะขายสินค้าตามต้นทุนนำเข้าจริง เนื่องจากราคาวัตถุดิบในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวตามราคาน้ำมัน ราคาจำหน่ายปุ๋ยในประเทศก็ต้องปรับขึ้น เพื่อให้ธุรกิจค้าปุ๋ยอยู่ได้ เพราะผู้ค้าไม่ได้มีภาระจากราคานำเข้าที่สูงขึ้นเท่านั้น ยังมีค่าบริหารจัดการ เช่น ค่าแรงงาน ค่าพลังงาน ค่าขนส่ง ค่าจัดจำหน่ายที่สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ค้าปุ๋ยเคมียินดีจะแจ้งราคานำเข้า ปริมาณ และสถานที่เก็บ เพื่อป้องกันข้อสงสัยในประเด็นเรื่องการกักตุนปุ๋ยเคมีเพื่อหวังเก็งกำไร 

เกษตรกรและผู้ค้าปุ๋ยเร่งปรับตัว...ในยุคปุ๋ยเคมีราคาพุ่ง 
ในช่วงที่ผ่านมามีกระแสการวิจารณ์กันว่าราคาปุ๋ยเคมีในระดับค้าส่งและค้าปลีกที่ปรับขึ้นนั้นอาจมีการจำหน่ายแพงเกินจริง โดยเฉพาะราคาจำหน่ายปลีกปุ๋ยเคมีมีการปรับขึ้นราคาที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 35-40 ทั้งที่เมื่อคำนวณต้นทุนการนำเข้า ค่าบริหารจัดการ และกำไรเบื้องต้นแล้วราคาควรจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 20-30 เท่านั้น จึงมีคำถามตามว่าเป็นการปั่นราคาภายในประเทศ ทำให้ราคาปุ๋ยที่เกษตรกรซื้อมาใช้นั้น เป็นราคาที่สูงเกินความเป็นจริงจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะหากดูจากวงจรธุรกิจปุ๋ยในประเทศ จากผู้นำเข้ามาถึงโรงงานผลิตปุ๋ย จะพบว่าในช่วงดังกล่าวทางกรมการค้าภายในมีการใช้มาตรการทางด้านกฎหมายตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนราคาปุ๋ย ณ ราคาหน้าโรงงาน จะต้องแจ้งให้กับกระทรวงพาณิชย์ทราบก่อน เพราะปุ๋ยอยู่ในบัญชีสินค้าควบคุม อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนจากหน้าโรงงานไปยังผู้ค้าส่ง หรือยี่ปั๊ว ซาปั๊ว จนถึงค้าปลีก ซึ่งจะรับปุ๋ย ณ หน้าโรงงานมาบรรจุถุงขายนั้น ในขั้นตอนนี้ไม่ได้มีการกำหนดมาตรการควบคุม เพียงแต่ให้ติดป้ายแสดงราคาเท่านั้น เพื่อให้การค้าปุ๋ยเป็นไปตามกลไกตลาด ทำให้อาจกลายเป็นช่องทางที่อาจทำให้ราคาปุ๋ยสูงขึ้นเกินจริง เมื่อผ่านหน้าโรงงานไปแล้ว ซึ่งมาตรการที่รัฐบาลอาจจะต้องนำมาใช้เพิ่มเติมเพื่อปิดโอกาสในการที่จะมีการจำหน่ายปุ๋ยในราคาสูงเกินจริง ตามมติของคณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ(กกร.)ให้ผู้ประกอบการปุ๋ยภายในประเทศต้องแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บ ป้องกันปัญหาการกักตุนปุ๋ยเพื่อเก็งกำไร รวมทั้งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาราคาปุ๋ย เพื่อกำหนดราคาแนะนำที่เหมาะสมต่อไปนอกจากความพยายามในการตรึงราคาจำหน่ายปุ๋ยเคมีแล้ว ทางรัฐบาลมีมาตรการในเรื่องปุ๋ยเคมี ดังต่อไปนี้ 

 มาตรการที่จะนำเข้าปุ๋ยเพื่อจำหน่ายโดยตรงให้กับเกษตรกร โดยมีการอนุมัติงบประมาณ 300 ล้านบาทเพื่อนำเข้าปุ๋ยในปริมาณ 20,000 ตัน เพื่อเป็นการช่วยเกษตรกรบรรเทาปัญหาขาดแคลนปุ๋ย และเกษตรกรที่มีทุนน้อยในการซื้อปุ๋ย แต่ถือเป็นการช่วยเหลือเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น ซึ่งอาจจะไม่มีผลต่อกลไกราคาตลาดที่กำลังร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ 

 ผลักดันให้ตั้งโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้ในประเทศให้มากขึ้น ประเด็นในเรื่องการส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่ไปกับการใช้ปุ๋ยเคมีนั้นเป็นมาตรการที่ควรส่งเสริมและให้ความรู้ที่ถูกต้องกับเกษตรกร เนื่องจากปุ๋ยอินทรียมีข้อดีในการปรับโครงสร้างของดิน ทำให้ดินร่วนซุย และพืชสามารถนำธาตุอาหารสำคัญในปุ๋ยเคมีไปใช้ได้ดีขึ้น ส่งผลทำให้ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลดลง อย่างไรก็ตามเงื่อนไขที่สำคัญคือ ต้องมีการวิเคราะห์ดินเพื่อการใช้ปุ๋ยเคมีที่ถูกต้อง และไม่สิ้นเปลืองที่จะใส่ธาตุปุ๋ยในที่ดินมีธาตุอาหารนั้นอยู่แล้ว นอกจากนี้รัฐบาลควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นว่าราคาปุ๋ยที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นภาวะที่เกิดขึ้นทั่วโลกไม่เฉพาะกับประเทศไทย เกษตรกรไทยจึงต้องเร่งปรับตัวให้อยู่ได้ในภาวะที่ปุ๋ยเคมีมีราคาแพง 

สำหรับการปรับตัวของผู้จำหน่ายปุ๋ยเคมี เมื่อนำเข้าแม่ปุ๋ยมาแล้ว ควรต้องมีการปรับสูตรการผลิตให้มีความหลากหลาย ซึ่งลูกค้า/เกษตรกรได้ประโยชน์ในการใช้ปุ๋ยสูตรธาตุอาหารต่ำที่เหมาะสมกับสภาพดินและพืชที่ปลูก นับเป็นการช่วยลูกค้า/เกษตรกรในการประหยัดเงิน ซึ่งเท่ากับเป็นการลดต้นทุนให้ทางอ้อม อย่างไรก็ตาม โรงงานผสมปุ๋ยเคมีขนาดเล็กนั้นยังต้องปรับตัวมากกว่าโรงงานผสมปุ๋ยเคมีขนาดใหญ่ กล่าวคือ ปัจจุบันโรงงานปุ๋ยเคมีเล็กๆ มีอยู่กว่า 100 โรงงาน แต่ที่ดำเนินการผลิตอย่างสม่ำเสมอมีเพียงประมาณ 10 โรงงาน กลยุทธ์การรักษาฐานลูกค้าของโรงงานผสมปุ๋ยเคมีขนาดเล็กเหล่านี้คือ การรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร ผลิตสินค้าให้หลากหลาย เพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือกมากขึ้น มีการเสริมธาตุอื่นๆที่เป็นธาตุอาหารรอง เช่น สังกะสี ทองแดง เป็นต้น เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละพืช รวมทั้งบางรายยังมีการเพิ่มบริการวิเคราะห์ดินให้กับเกษตรกรพร้อมทั้งแนะนำสูตรปุ๋ยเคมีที่เหมาะสม นอกจากนี้ผู้จำหน่ายปุ๋ยเคมีนั้นมีส่วนสำคัญอย่างมากในการแนะนำ/อบรมเกษตรกรให้แยกได้ระหว่างปุ๋ยจริงและปุ๋ยปลอม ซึ่งจะเป็นการปกป้องเกษตรกรและปกป้องธุรกิจจำหน่ายปุ๋ยเคมี เนื่องจากในช่วงที่ราคาปุ๋ยเคมีอยู่ในเกณฑ์สูงนั้นปริมาณปุ๋ยปลอมก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย 
ประเด็นที่น่าสนใจในการที่จะช่วยเกษตรกรลดต้นทุนในด้านปุ๋ยเคมี คือ การผสมปุ๋ยเคมีใช้เอง อย่างไรก็ตาม เกษตรกรไทยไม่นิยมผสมปุ๋ยเอง อันนื่องจากการผสมปุ๋ยเองนั้นเกษตรกรต้องซื้อแม่ปุ๋ยหลักทั้งปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยฟอสเฟตและปุ๋ยโปแตสมาอย่างละกระสอบ แต่เนื่องจากสูตรปุ๋ยไม่ได้มีแต่สูตรเสมอ เมื่อผสมแล้วตัวหลักทั้งสามตัวจะเหลือไม่เท่ากัน ทำให้ไม่คุ้มกับต้นทุนการซื้อแม่ปุ๋ย เกษตรกรไทยจึงนิยมใช้ปุ๋ยผสมสำเร็จรูป อย่างไรก็ตาม แนวทางการสนับสนุนในการผสมปุ๋ยเคมีใช้เองนั้นสามารถทำได้โดยผ่านทางสหกรณ์การเกษตรหรือกลุ่มเกษตรกร แต่จะมีปัญหาในการหาซื้อแม่ปุ๋ยไม่ได้ เกษตรกรยังมีความรู้ไม่เพียงพอ และไม่มีเงินทุน จึงเสียเปรียบโรงงานผสมปุ๋ยสำเร็จรูป นอกจากนี้ กระบวนการผลิตปุ๋ยผสมยังต้องมีข้อแตกต่างของสินค้าโดยการเติมธาตุอาหารรองที่แตกต่าง ทำให้ปุ๋ยเคมีมีหลากหลายสูตร เงื่อนไขของการที่จะส่งเสริมให้สหกรณ์การเกษตรหรือกลุ่มเกษตรกรประสบสำเร็จในการจำหน่ายปุ๋ยในแต่ละท้องถิ่น คือ ต้องมีการวิเคราะห์ความต้องการปุ๋ยในแต่ละท้องที่โดยผ่านการวิเคราะห์ดิน เพื่อให้ได้ความต้องการธาตุปุ๋ยที่แท้จริง ซึ่งแต่ละท้องที่จะมีความต้องการปุ๋ยที่แตกต่างกัน หลังจากนั้นต้องมีการกำหนดปริมาณการผลิตปุ๋ยแต่ละล็อตเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการในแต่ละท้องถิ่น รวมทั้งรัฐบาลหาแม่ปุ๋ยมาป้อนให้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการหาซื้อแม่ปุ๋ย คาดว่าจะติดปัญหาระบบราชการที่ล่าช้าในการดำเนินการและราคาที่มักจะสูงกว่าตลาด 

บทสรุป 
ในปี 2551 ราคาปุ๋ยเคมีในตลาดโลกมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากปริมาณการผลิตปุ๋ยเคมีขยายไม่ทันกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทำให้การค้าปุ๋ยเคมีในตลาดโลกตึงตัว ปัจจัยที่ส่งผลให้ความต้องการปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก็เพราะหลายประเทศต่างขยายการผลิตสินค้าเกษตร ทั้งพืชอาหาร พืชอาหารสัตว์และพืชพลังงานทดแทน ทำให้เกิดการแย่งพื้นที่การปลูกและเกษตรกรต่างต้องการปุ๋ยเคมีเพิ่มมากขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ซึ่งแนวโน้มราคาปุ๋ยเคมีนั้นยังคงเพิ่มขึ้นในช่วงระยะ 2-3 ปีข้างหน้า เนื่องจากข้อจำกัดในการขยายกำลังการผลิต และความต้องการปุ๋ยเคมียังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

ไทยต้องพึ่งพิงการนำเข้าปุ๋ยเคมี ดังนั้นผู้ค้าปุ๋ยเคมีและเกษตรกรต่างได้รับผลกระทบจากราคาปุ๋ยเคมีที่เพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลมีการดำเนินมาตรการที่จะนำเข้าปุ๋ยเพื่อจำหน่ายโดยตรงให้กับเกษตรกร เพื่อเป็นการช่วยเกษตรกรบรรเทาปัญหาขาดแคลนปุ๋ย และเกษตรกรที่มีทุนน้อยในการซื้อปุ๋ย แต่ถือเป็นการช่วยเหลือเพียงช่วงระยะเวลาสั้น และการช่วยเหลืออยู่ในวงจำกัด นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี ประเด็นในเรื่องการส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่ไปกับการใช้ปุ๋ยเคมีนั้นเป็นมาตรการที่ควรส่งเสริมและให้ความรู้ที่ถูกต้องกับเกษตรกร เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์มีข้อดีในการปรับโครงสร้างของดิน ทำให้ดินร่วนซุย และพืชสามารถนำธาตุอาหารสำคัญในปุ๋ยเคมีไปใช้ได้ดีขึ้น ทำให้ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลดลง โดยเงื่อนไขที่สำคัญคือ ต้องมีการวิเคราะห์ดินเพื่อการใช้ปุ๋ยเคมีที่ถูกต้อง และไม่สิ้นเปลืองที่จะใส่ธาตุปุ๋ยในที่ดินมีธาตุอาหารนั้นอยู่แล้ว 

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลและธุรกิจเอกชนที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้เกษตรกรไทยต้องเร่งปรับตัวให้อยู่ได้ในภาวะที่ปุ๋ยเคมีมีราคาแพง โดยการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้ปุ๋ยเคมี ทั้งนี้มุ่งประเด็นการใช้อย่างมีประสิทธิภาพไม่สิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ สำหรับการปรับตัวของผู้จำหน่ายปุ๋ยเคมี เมื่อนำเข้าแม่ปุ๋ยมาแล้ว ควรต้องมีการปรับสูตรการผลิตให้มีความหลากหลาย ซึ่งลูกค้า/เกษตรกรได้ประโยชน์ในการใช้ปุ๋ยสูตรธาตุอาหารต่ำที่เหมาะสมกับสภาพดินและพืชที่ปลูก นับเป็นการช่วยลูกค้า/เกษตรกรในการประหยัดเงิน ซึ่งเท่ากับเป็นการลดต้นทุนให้เกษตรกรในทางอ้อม นอกจากนี้ผู้จำหน่ายปุ๋ยเคมีนั้นมีส่วนสำคัญอย่างมากในการแนะนำ/อบรมเกษตรกรให้แยกได้ระหว่างปุ๋ยจริงและปุ๋ยปลอม ซึ่งจะเป็นการปกป้องเกษตรกรและปกป้องธุรกิจจำหน่ายปุ๋ยเคมี เนื่องจากในช่วงที่ราคาปุ๋ยเคมีอยู่ในเกณฑ์สูงนั้นปริมาณปุ๋ยปลอมก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงทั้งผู้ประกอบการค้าปุ๋ยและเกษตรกรโดยทั่วไป



ที่มา http://www.positioningmag.com/prnews/prnews.aspx?id=70248

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ด่วน-ราคาปุ๋ยเคมีวันนี้-อัพเดตล่าสุด!!


ปุ๋ยเคมีตรา 5นางฟ้าทรงฉัตรสูตร 30-0-0 ราคา 690-750 บาท

ปุ๋ยยูเรีย 5นางฟ้าทรงฉัตร 30-0-0

ลดราคาปุ๋ยเคมีทุกสูตรวันนี้ แถมฟรีหม้อหุงข้าวอุ่นทิพย์ 1.8 ลิตร ถึง 31 ส.ค. ศกนี้!!
โทรสอบถามและขอใบเสนอราคาส่งหน้าโรงงานได้ที่ 089-7455909 จัดส่งฟรี!!
**ซื้อไปขายต่อลดพิเศษพร้อมจัดส่ง**
ลดพิเศษราคาปุ๋ยเคมียูเรียสูตร 30-0-0 ราคา 690-750 บาท (ส่งฟรี) ,ลดราคาปุ๋ยเคมีสูตรปาล์มน้ำมัน 8-24-24 ราคา  990-1,150 บาท,ลดราคาปุ๋ยเคมีนาข้าวและยางเล็กสูตร 16-8-8  ราคา 650-690 บาท ปุ๋ยเคมีใส่นาข้าวดินทราย,ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ราคา 740-840 บาท,ปุ๋ยเคมีสูตรระเบิดหัวมันสำปะหลัง 15-15-15 ราคา 790-900 บาท ,ปุ๋ยเคมีนาข้าวสูตร 16-20-0 ราคา 740-800 บาท,ปุ๋ยเคมีเร่งน้ำยางสำหรับยางใหญ่สูตร 15-7-18 จากราคา 820 บาท เหลือ ราคา 750 บาท,ปุ๋ยเคมีใส่ยางพาราใหญ่สูตร 20-8-20 จาก 950 บาท ลดเหลือ 820 บาท,ปุ๋ยยางพาราเล็กสูตร 20-10-12 จากราคา 850 บาท ลดเหลือราคา 790 บาท,ปุ๋ยเคมีสูตร 3-9-20 ราคา 780 บาท,ปุ๋ยเคมีสูตรรองพื้น ราคา 470 บาท,ปุ๋ยอินทรีย์ ราคา 285 บาท
โทรเช็คราคาแม่ปุ๋ยวันนี้จัดส่งฟรี!!
ราคาแม่ปุ๋ยยูเรียวันนี้ ตรากระต่ายสูตร 46-0-0 ราคา 805 บาทส่งฟรี ราคาแม่ปุ๋ยเคมีแด๊ป DAP ตรากระต่ายเกรดเอจากซาอุดิอาระเบีย สูตร 18-46-0 (สีเหลือง) ราคา 1,250 บาท,ราคาแม่ปุ๋ยม๊อพ MOP ตราเรือใบสูตร 0-0-60 สีแดง เป็นแม่ปุ๋ยเกรดเอส่งฟรี ราคา 1,080 บาท โทรเช็คราคาแม่ปุ๋ยวันนี้จัดส่งฟรี!!
ในเขตสุพรรณบุรีและพื้นที่ใกล้เคียงจังหวัดสุพรรณบุรี จัดส่งฟรีพร้อมคนลงสินค้า!! 
โทรด่วน 035-439676
(ราคานี้ยังไม่รวมค่าจัดส่งสำหรับต่างจังหวัด lot ละ 15-30 ตัน*) ราคาปุ๋ยและแม่ปุ๋ย ณ วันที่ 1 กรกฎาคม. ปี 2555
____________________________________________________________________________________
ราคาปุ๋ยเคมีตรา 5นางฟ้าทรงฉัตรสูตร 30-0-0 ราคาส่งหน้าโรงงาน 690-750 บาท ที่นี่โทร 089-7455909
ปุ๋ยยูเรีย 30-0-0 ตรา5นางฟ้าทรงฉัตรเหมาะสำหรับพืชทุกชนิด โดยเฉพาะนาข้าวระยะ 20 วัน หรือใช้เป็นปุ๋ยบำรุงตออ้อย ช่วยเร่งการเจริญเติบโตทางด้านลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ เหมาะสำหรับพืชที่ปลูกใหม่เช่น ข้าวระยะ 20 วัน หรือพืชที่ต้องการปลูกกินใบ เช่น ผักต่างๆ ใส่ยางพารา อายุ 1-6 ปี ร่วมกับสูตร 16-8-8 ทำให้ยางพาราโตเร็ว ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง ปุ๋ยเคมีเต็มสูตรยูเรีย 5นางฟ้าทรงฉัตร มีธาตุอาหารหลักไนโตรเจนในรูปของยูเรีย-ไนโตรเจน พืชจึงนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ใช้เป็นปุ๋ยสำหรับนาข้าว ช่วยให้ต้นข้าวเขียวทน เขียวนานต้านทานโรคด้วยสินแร่ภูไมซ์ นอกจากนี้ยังใช้ปุ๋ยเคมีตราห้านางฟ้าทรงฉัตรสูตร 30-0-0 ร่วมกับปุ๋ยสูตร 15-15-15 ใส่ในสนามกอล์ฟ หรือสนามหญ้า สวนหย่อมหรือหญ้าในสนามกีฬาช่วยให้หญ้าเขียวขจีสวยงาม [ราคาปุ๋ยเคมียูเรีย 30-0-0 ราคาส่ง วันที่ 1 เมษายน 2555] ติดต่อฝ่ายขาย โทร 035 439676 , 035 439691
การใส่ปุ๋ยนาหว่านน้ำตมแผนใหม่ ควรใส่ 2 ครั้ง คือครั้งแรก ใส่หลังหว่านข้าวแล้ว 20-30 วัน โดยใส่ปุ๋ย สูตร 16-20-0 หรือ 16-16-8 หรือ 16-8-8  ในนาดินเหนียว และปุ๋ยสูตร 16-16-8 ในนาดินทราย อัตราไร่ละ 20-25 กิโลกรัม ครั้งที่ 2 ใส่ก่อนข้าวออกดอกประมาณ 30 วัน โดยใส่ยูเรียสูตร 30-0-0 อัตราไร่ละ 10-20 กิโลกรัม
 

ปุ๋ยเคมีตรา 5นางฟ้าทรงฉัตรสูตร 16-16-8 ราคา 740-840 บาท

ปุ๋ยเคมี 5 นางฟ้าทรงฉัตร 16-8-8
ปุ๋ยนาข้าว|ปุ๋ยอ้อย|ปุ๋ยมันสำปะหลัง|ปุ๋ยยางพารา|ปุ๋ยข้าวโพด|ปุ๋ยปาล์ม|ปุ๋ยใส่ผักผลไม้|ราคาปุ๋ย
ปุ๋ยสำหรับนาข้าว 5 นางฟ้าทรงฉัตรสูตร 16-16-8 ราคาหน้าโรงงาน แนะนำให้ใช้กับนาข้าวที่เป็นดินทรายหรือดินร่วนปนทราย หรือในดินที่มีธาตุโพแทสเซียมต่ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เหมาะสำหรับพืชทุกชนิด โดยเฉพาะข้าวนาดินทราย ทำให้ข้าวเจริญเติบโตดี ลำต้นแกร่ง กอใหญ่ แข็งแรง ต้านทานโรคและแมลงได้ดี เมล็ดข้าวมีน้ำหนัก รวงใหญ่ ไม่มีเมล็ดลีบ ผลผลิตต่อไร่สูง คุณสมบัติพิเศษ "เขียวไว งามทน ได้ผลผลิตสูงเป็นปุ๋ยคุณภาพสูง ได้มาตรฐานจากกรมวิชาการเกษตร ควบคุมการผลิตทุกขั้นตอน พิถีพิถัน เกษตรกรมั่นใจในคุณภาพ "ปุ๋ยดี ที่คนไทยเลือกใช้ทุกเม็ด แห้ง แกร่ง ไม่ชื้น ไม่ติดมือสามารถใส่เครื่องพ่นปุ๋ยได้เป็นอย่างดี มีให้เลือกมากมายหลายสูตร สำหรับ นาข้าว พืชผักทุกชนิด พืชไร่ทุกประเภท รวมทั้งพืชสวนต่าง ๆ สอบถามรายละเอียดโทร 089-7455909
ครั้งแรกใส่ก่อนปักดำไม่เกิน 1 วัน หรือหลังปักดำ 10-20 วัน โดยใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ในนาดินเหนียว และสูตร 16-16-8 ในนาดินทรายไร่ละ 20-25 กก. ครั้งที่ 2 ใส่ก่อนข้าวออกดอก 30 วัน หรือราววันที่ 20 กันยายนของทุกปี โดยใส่ปุ๋ยสูตร 30-0-0 ไร่ละ 25 กก. การใส่ปุ๋ยนาหว่านน้ำตมควรใส่ 2 ครั้ง คือ ครั้งแรก ใส่หลังหว่านข้าวแล้ว 20-30 วัน โดยใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0  ในนาดินเหนียว และสูตร 16-16-8 ในนาดินทรายไร่ละ 25 กก. ครั้งที่ 2 ใส่ก่อนข้าวออกดอก 30 วัน หรือราววันที่ 20 กันยายนของทุกปี โดยใส่สูตร 30-0-0 ไร่ละ 25 กก. หรือปุ๋ยยูเรียไร่ละ 5-10 กก.ส่วนการทำนาหว่านข้าวแห้งไม่แนะนำให้ใส่ปุ๋ยเคมี เพราะให้ผลตอบแทนที่ไม่คุ้มกับการลงทุน ถ้าจะใช้ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแทนจะดีกว่า
 

ปุ๋ยเคมีตรา 5นางฟ้าทรงฉัตรสูตร 16-20-0 ราคา 740 - 800 บาท

ปุ๋ยเคมี 5 นางฟ้าทรงฉัตร 16-20-0
ปุ๋ยนาข้าว|ปุ๋ยอ้อย|ปุ๋ยมันสำปะหลัง|ปุ๋ยยางพารา|ปุ๋ยข้าวโพด|ปุ๋ยปาล์ม|ปุ๋ยผักผลไม้|ราคาปุ๋ย
ปุ๋ยเคมีตรา ห้านางฟ้าทรงฉัตสูตร 16-20-0 :: ราคาส่งหน้าโรงงานราคาถูก ส่งฟรีทั่วประเทศ!!
ปุ๋ยสำหรับนาข้าว เหมาะสำหรับพืชทุกชนิด โดยเฉพาะข้าวนาดินเหนียว ทำให้ข้าวเจริญเติบโตดี ลำต้นแกร่ง กอใหญ่ แข็งแรง ต้านทานโรคและแมลงได้ดี เมล็ดข้าวมีน้ำหนักรวงใหญ่ ไม่มีเมล็ดลีบ ผลผลิตต่อไร่สูง ปุ๋ยเคมีตราห้านางฟ้าทรงฉัตร สูตร 16-20-0 มีธาตุอาหารหลักไนโตรเจนอยู่ในรูปของแอมโมเนียม-ไนโตรเจน สำหรับนาข้าวระยะออกรวง เพิ่มผลผลิต เพิ่มกำไร ใช้ปุ๋ยตรา 5นางฟ้าทรงฉัตร โทรศัพท์ 089-7455909
ครั้งแรกใส่ก่อนปักดำไม่เกิน 1 วัน หรือหลังปักดำ 10-20 วัน โดยใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ในนาดินเหนียว และสูตร 16-16-8 ในนาดินทรายไร่ละ 20-25 กก. ครั้งที่ 2 ใส่ก่อนข้าวออกดอก 30 วัน หรือราววันที่ 20 กันยายนของทุกปี โดยใส่ปุ๋ยสูตร 30-0-0 ไร่ละ 25 กกการใส่ปุ๋ยนาหว่านน้ำตมควรใส่ 2 ครั้ง คือ ครั้งแรก ใส่หลังหว่านข้าวแล้ว 20-30 วัน โดยใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0  ในนาดินเหนียว และสูตร 16-16-8 ในนาดินทรายไร่ละ 25 กกครั้งที่ 2 ใส่ก่อนข้าวออกดอก 30 วัน หรือราววันที่ 20 กันยายนของทุกปี โดยใส่สูตร 30-0-0 ไร่ละ 25 กกหรือปุ๋ยยูเรียไร่ละ 5-10 กก.ส่วนการทำนาหว่านข้าวแห้งไม่แนะนำให้ใส่ปุ๋ยเคมี เพราะให้ผลตอบแทนที่ไม่คุ้มกับการลงทุน ถ้าจะใช้ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักแทนจะดีกว่า
 

ปุ๋ยเคมีตรา 5นางฟ้าทรงฉัตรสูตร 15-15-15 ราคา 790-900 บาท

ปุ๋ยตรา 5 นางฟ้าทรงฉัตร 15-15-15
ปุ๋ยนาข้าว|ปุ๋ยอ้อย|ปุ๋ยมันสำปะหลัง|ปุ๋ยยางพารา|ปุ๋ยข้าวโพด|ปุ๋ยปาล์ม|ปุ๋ยใส่ผักผลไม้|ราคาปุ๋ย
ปุ๋ยเคมีตราห้านางฟ้าทรงฉัตรสูตร 15-15-15 :: ราคาส่งหน้าโรงงานราคาพิเศษส่งฟรีทั่วประเทศ!!  ใช้เป็นปุ๋ยข้าวโพด หรือปุ๋ยแต่งหน้าสำหรับนาข้าวเพื่อเพื่มน้ำหนัก ใช้เป็นปุ๋ยสำหรับอ้อยเพื่อเร่งความหวานเพิ่มน้ำหนักหรือใช้เป็นปุ๋ยสำหรับพืชผัก หรือไม้ดอกปุ๋ยตราห้านางฟ้าทรงฉัตรสูตร 15-15-15 มีธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน ในรูปของแอมโมเนียม-ไนโตรเจนและไนเตรท-ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม จึงให้ธาตุอาหารกับพืชทุกชนิดได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง สำหรับเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางบางแห่ง ได้มีการใช้ในนาข้าวร่วมกับปุ๋ย5นางฟ้าทรงฉัตรสูตร 16-16-8 และสูตร 16-20-0 เหมาะสำหรับพืชทุกชนิด ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตในทุกส่วนของพืช เพิ่มคุณภาพและปริมาณผลผลิต ใส่ข้าวช่วงตั้งท้อง ทำให้ข้าวรวงใหญ่ น้ำหนักดี ไม่มีเมล็ดลีบ ผลผลิตต่อไร่สูง ใช้เป็นปุ๋ยปาล์มน้ำมันช่วยให้ต้นปาล์มโตไว ใบเขียวเข้ม ผลดก ทะลายใหญ่ รวมทั้งใช้เป็นปุ๋ยเร่งน้ำยางพาราในยางใหญ่ นอกจากนี้ยังใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ร่วมกับปุ๋ยเคมีตรา 5 นางฟ้าทรงฉัตรสูตร 30-0-0 ใส่บำรุงหญ้าในสนามกอล์ฟ หรือสนามหญ้า ช่วยให้หญ้าเขียวขจีโดยใส่ประมาณปีละ 2-3 ครั้ง นอกจากนี้ยังใช้เป็นปุ๋ยสำหรับต้นยูคาลิปตัสอัตรา 200-300 กรัมต่อต้น โทรศัพท์ 089-7455909
การใส่ปุ๋ยมันสำปะหลัง ใส่ปุ๋ยเคมีครั้งเดียว เป็นหลุมสองข้างต้นแล้วพรวนดินกลบ ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 60-80กิโลกรัมต่อไร่ เมื่ออายุ 1-2 เดือน หรือหลังการกำจัดวัชพืชครั้งแรก   และการใส่ปุ๋ยอ้อยให้ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 60-100 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปีโดย ในอ้อยปลูก แบ่งใส่เป็นสองครั้งเท่า ๆ กัน ครั้งแรกหลังปลูกประมาณ 1 เดือน ใส่ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 30-60 วัน   การใส่ปุ๋ยอ้อยเพื่อบำรุงตออ้อยสำหรับอ้อยตอ นอกเขตชลประทาน ครั้งแรกต้นฤดูฝน ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งแรก ประมาณ 30-60 วัน โดยวิธีโรยข้างแถว อ้อยตอในเขตชลประทาน ครั้งแรกใส่ทั้งหมดหลังตัดแต่งตอ ครั้งที่สอง ใส่ปุ๋ยเคมีสำหรับอ้อยสูตร 30-0-0 อัตรา 25-40 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากใส่ครั้งแรก 30-60 วัน โดยวิธีโรยข้างแถว ควรใส่ปุ๋ยเคมีขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ และต้องพรวนดินกลบปุ๋ยเคมี    สำหรับไม้ผล,ผลไม้ต่าง ๆ ให้ใส่ปุ๋ยตรา 5 นางฟ้าทรงฉัตร โดยใส่ปุ๋ยเคมีบริเวณทรงพุ่มแล้วพรวนดินกลบในอัตรา 1-5 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของต้น และในปีหนึ่ง ๆ ควรแบ่งใส่ปุ๋ยเคมีประมาณ 3 ครั้ง  ในการใส่ปุ๋ยสำหรับบำรุงพืชผัก ใส่เมื่อพืชตั้งตัวดีแล้ว แบ่งใส่สองครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 40-60 กิโลกรัมต่อไร่ โดยวิธีหว่าน หรือรองก้นหลุม ครั้งที่สอง ใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราเดียวกับครั้งแรก หลังจากใส่ปุ๋ยเคมีครั้งแรก 15-30 วัน โดยวิธีโรยข้างแถวนอกจากนี้ยังใช้ใส่ในไม้ดอกและไม้ประดับ กรณีปลูกเป็นไร่ ใช้เช่นเดียวกับพืชผัก ถ้าปลูกเป็นกระถาง ให้ใช้ปุ๋ยเคมีอัตรา 15-30 กรัมต่อกระถาง
การใส่ปุ๋ยในอ้อยน้ำตาล
ให้ปุ๋ยเคมีในอ้อยหลังปลูกหรือหลังแต่งตออ้อย 2 ครั้ง
ดินร่วน ดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียว ให้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 หรือ 16-16-8 ครั้งแรกเมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน อัตรา 35 กก./ไร่  ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 3 เดือน อัตรา 40 กก./ไร่ ถ้าเป็นอ้อยตอ ให้ใส่ปุ๋ยอ้อยสูตร 30-0-0 เพิ่ม 25 กิโลกรัมต่อไร่
ดินร่วนปนทราย ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 15-7-18 ครั้งแรกพร้อมปลูก อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่สองเมื่ออ้อยอายุ 3 เดือน อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าเป็นอ้อยตอ ให้ใส่ปุ๋ยอ้อยสูตร 30-0-0 เพิ่ม 25 กิโลกรัมต่อไร่
ในอ้อยปลูก ให้ปุ๋ยแบบโรยเป็นแถวข้างกออ้อยแล้วพรวนกลบ ในอ้อยตอ ให้ฝังกลบปุ๋ยห่างจาก กออ้อย 10-15 เซนติเมตร
อ้อยปลูกและอ้อยตอ ที่ปลูกในเขตชลประทาน เมื่ออายุ 2-3 เดือน ให้เพิ่มปุ๋ยเคมีสูตร 30-0-0 ตรา 5 นางฟ้าทรงฉัตร อัตรา 25 กก./ไร่ 
 

ปุ๋ยเคมีตรา 5นางฟ้าทรงฉัตรสูตร 15-7-18 ราคา 750-820 บาท

ปุ๋ยเคมีตรา 5 นางฟ้าทรงฉัตร 15-7-18
ปุ๋ยนาข้าว|ปุ๋ยอ้อย|ปุ๋ยมันสำปะหลัง|ปุ๋ยยางพารา|ปุ๋ยข้าวโพด|ปุ๋ยปาล์ม|ปุ๋ยใส่ผักผลไม้|ราคาปุ๋ย
ปุ๋ยเร่งน้ำยางสำหรับยางใหญ่ ตราห้านางฟ้าทรงฉัตร สูตร 15-7-18 ช่วยเร่งน้ำยางในยางใหญ่อายุ 5-7 ปีขึ้นไป และเหมาะสำหรับพืชทุกชนิด โดยเฉพาะยางพาราเปิดกรีดทำให้เปลือกยางนิ่ม กรีดง่าย ปริมาณน้ำยางพาราเพิ่มมากขึ้น น้ำยางเข้มข้นขึ้น ใส่ข้าวช่วงตั้งท้อง ทำให้ข้าวรวงใหญ่ น้ำหนักดี ไม่มีเมล็ดลีบ ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น เป็นปุ๋ยใส่บำรุงต้น โดยแนะนำให้ใส่ในช่วงการออกดอก ผล เป็นหลัก เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของดอก และผล ติดต่อฝ่ายขาย โทร 035 439676 , โทรศัพท์ติดต่อฝ่ายขาย 089-7455909
การใส่ปุ๋ยเคมีบำรุงต้นยางมีหลายวิธี เช่น วิธีหว่านปุ๋ยกระจายเป็นแถบห่างจากโคนต้น ประมาณ 1-2 เมตร แล้วคราดกลบ วิธีหว่านลงไปรอบ ๆ บริเวณโคนต้น วิธีหว่านแล้วคราดกลบ วิธีเจาะเป็นหลุมใส่ปุ๋ยเคมีแล้วกลบ และวิธีเจาะเป็นร่อง เป็นต้น โดยแบ่งใส่เป็นสองครั้ง ๆ ละ 500-600 กรัมต่อต้นต่อ 6 เดือน ครั้งแรกใส่ในระยะต้นยางพาราเริ่มผลิใบอ่อน (ประมาณเดือนพฤษภาคม) ใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่สองหลังจากใส่ปุ๋ยครั้งแรกแล้ว 6 เดือน (ประมาณเดือนกันยายน)
คุณสมบัติพิเศษ "เขียวไว งามทน เพิ่มผลผลิตเป็นปุ๋ยคุณภาพสูง ได้มาตรฐานจากกรมวิชาการเกษตรควบคุมการผลิตทุกขั้นตอน พิถีพิถัน เกษตรกรมั่นใจในคุณภาพ "ปุ๋ยยางพาราตราห้านางฟ้าทรงฉัตร ปุ๋ยดี ที่คนไทยเลือกใช้ทุกเม็ด แห้ง แกร่ง ไม่ชื้น ไม่ติดมือ สามารถใส่เครื่องพ่นปุ๋ยได้เป็นอย่างดี มีให้เลือกมากมายหลายสูตร สำหรับ นาข้าว พืชผักทุกชนิด พืชไร่ทุกประเภท รวมทั้งพืชสวนต่าง ๆ  
 

ปุ๋ยเคมี ตรา 5 นางฟ้าทรงฉัตร สูตร 16-8-8 ราคา 650-690 บาท ส่งฟรี

ปุ๋ยเคมีสำหรับนาข้าวสูตร 16-8-8 ราคาส่ง แนะนำให้ใช้กับนาข้าวที่เป็นดินทรายหรือดินร่วนปนทราย หรือในดินที่มีธาตุโพแทสเซียมต่ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เหมาะสำหรับพืชทุกชนิด โดยเฉพาะข้าวนาดินทราย ทำให้ข้าวเจริญเติบโตดีลำต้นแกร่ง กอใหญ่ แข็งแรง ต้านทานโรคและแมลงได้ดี เมล็ดข้าวมีน้ำหนัก รวงใหญ่ไม่มีเมล็ดลีบ ผลผลิตต่อไร่สูง คุณสมบัติพิเศษ "เขียวไว งามทน หวังผลได้เลยเป็นปุ๋ยคุณภาพสูง ได้มาตรฐานจากกรมวิชาการเกษตร ควบคุมการผลิตทุกขั้นตอนพิถีพิถัน เกษตรกรมั่นใจในคุณภาพ "ปุ๋ยดี ที่คนไทยเลือกใช้ทุกเม็ด แห้ง แกร่ง ไม่ชื้นไม่ติดมือ สามารถใส่เครื่องพ่นปุ๋ยได้เป็นอย่างดี มีให้เลือกมากมายหลายสูตร สำหรับนาข้าว พืชผักทุกชนิด พืชไร่ทุกประเภท รวมทั้งพืชสวนต่าง ๆ ธาตุอาหารหลัก สูตร 16-16-8 N = 16 % P = 8% K = 8 %   ติดต่อฝ่ายขาย โทร 035 439676 , 089-7455909
 

ราคาปุ๋ยเคมี ตรา 5 นางฟ้าทรงฉัตร สูตร 8-24-24 ราคา 990-1050 บาท

ลดราคาปุ๋ยเคมีทุกสูตรส่งฟรีวันนี้ แถมฟรีหม้อหุงข้าวอุ่นทิพย์ 1.8 ลิตร ถึง 15 ก.ค.  ศกนี้!!
ปุ๋ยใส่ในแห้วจีน ถั่วเหลือง ถั่วเขียว,ส้ม ทุเรียน มะนาว ลิ้นจี่ ลำใย องุ่น,พริก หอมกระเทียม มันฝรั่ง มะเขือ ขิง หรือไม้ผลต่าง ๆ
ใช้เป็นปุ๋ยปาล์มน้ำมัน สูตร 8-24-24 ควรแบ่งใส่ให้เหมาะสมกับระยะการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันเนื่องจากแต่ละระยะของการเจริญเติบโตปาล์มน้ำมันจะมีความต้องการปุ๋ยแตกต่างกัน ดังนี้คือ 
      ปีที่ 1 ใส่ปุ๋ยเมื่อมีการย้ายกล้าปลูก (กล้าปาล์มมีอายุ 10 ถึง 12 เดือนให้ใส่ร็อกฟอสเฟตเพื่อรองก้นหลุมประมาณ 250 กรัมต่อหลุม เนื่องจากปุ๋ยนี้จะตกค้างเป็นประโยชน์ได้ระยะเวลา 2 ถึง 3 ปี จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยทุกปี  และหลังจากปลูกแล้วทุก 3 เดือน ก็ให้ใส่ปุ๋ยสูตร  16-16-8 ต้นละ 200 ถึง 300 กรัม และใส่อีกครั้งเมื่อปลูกและมีอายุได้ 6 เดือนในอัตราเดิม และใส่อีกครั้งเมื่ออายุ 9 เดือนในอัตราเดิม

      ปีที่ 2  ใส่ปุ๋ยเมื่ออายุได้ 18 เดือนใส่ปุ๋ยสูตร 15-7-18 หรือปุ๋ยปาล์มสูตร 15-15-15 ในอัตราต้นละ 400 ถึง 500 กรัม (ครึ่งกิโลกรัมเมื่ออายุได้ 24 เดือนเต็ม ใช้ปุ๋ยสูตรเดิม คือ 15-7-18 หรือปุ๋ยปาล์มสูตร 15-15-15 ในอัตราต้นละ ครึ่งกิโลกรัม สูตร 8-24-24 ในอัตราต้นละ ครึ่งกิโลกรัม

      ปีที่ 3 ใส่ปุ๋ยเมื่ออายุปาล์มได้ 30 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 15-7-18 หรือปุ๋ยปาล์มสูตร 15-15-15 ในอัตราต้นละ800 กรัม และเมื่อปาล์มอายุได้ 36 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร  8-24-24 ในอัตราต้นละ 1 กิโลกรัม
      ปีที่ 4  ใส่ปุ๋ยเมื่ออายุปาล์มได้ 42 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 15-7-18 หรือปุ๋ยปาล์มสูตร 15-15-15 ในอัตราต้นละ1.5 กิโลกรัม

      ปีที่ 5  ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 15-7-18 หรือปุ๋ยปาล์มสูตร 15-15-15 ในอัตราต้นละ 2กิโลกรัม ใส่ ร่วมกับปุ๋ยสูตร 8-24-24 อัตราต้นละ 2 กิโลกรัม

      ปีที่ 6  ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง โดยใช้ปุ๋ยสูตรเดิม คือครั้งแรกใส่ปุ๋ยสูตร 15-7-18 หรือปุ๋ยปาล์มสูตร 15-15-15 ในอัตราต้นละ 2 กิโลกรัม ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0-0-60) ในอัตราต้นละ 1.5 กิโลกรัม ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 8-24-24 อัตราต้นละ 2 กิโลกรัมต่อต้น

      ปีที่ 7  ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 15-7-18 หรือปุ๋ยปาล์มสูตร 15-15-15 ในอัตราต้นละ 2กิโลกรัม ใส่ ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0-0-60) ในอัตราต้นละ 1.5 กิโลกรัม  และครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ในอัตราต้นละ 2.5 กิโลกรัม

      ปีที่ 8  ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 15-7-18 หรือปุ๋ยปาล์มสูตร 15-15-15 ในอัตราต้นละ 2.5กิโลกรัม ร่วมกับปุ๋ยโปแทสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0-0-60) ในอัตราต้นละ 2 กิโลกรัมและปุ๋ยร็อกฟอสเฟตอัตราต้นละ 2 กิโลกรัม  ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ในอัตราต้นละ 2.5 กิโลกรัม

      ปีที่ 9   การใส่ปุ๋ยตั้งแต่ปีที่ 9 เป็นต้นไป ต้องใช้ปุ๋ยร็อกฟอสเฟต เพราะปุ๋ยร็อกฟอสเฟตใส่ 3 ปี ต่อครั้ง ไม่ต้องใส่ทุกปี ส่วนปุ๋ยสูตรอื่นๆ ยังคงใส่เหมือนเดิมทุกปี ดังนี้
  1. ปุ๋ยสูตร 16-16-8 เป็นปุ๋ยหลักที่ใส่ให้กับปาล์มที่ปลูกในปีแรก
  2. ปุ๋ยสูตร 15-7-18 หรือปุ๋ยปาล์มสูตร 15-15-15  เป็นสูตรปุ๋ยที่ใช้ใส่ต้นปาล์มทุกปี
  3. ปุ๋ยสูตร 8-24-24 โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยสูตร 15-7-18 หรือปุ๋ยปาล์มสูตร 15-15-15 ปุ๋ยทั้ง 2 สูตรนี้ ใส่ให้ต้นปาล์มครั้งแรกของทุกปี
  4. ปุ๋ยสูตร 8-24-24 (หรือปุ๋ยสูตรตัวท้ายอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน) เป็นปุ๋ยที่ใส่ให้ต้นปาล์มทุกปีๆ ละ 1 ครั้ง (ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2)
  5. ปุ๋ยร็อกฟอสเฟตใส่ทุกๆ  2 ปี หรือ ทุกๆ 3 ปี ก็ได้ ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อต้น
      **การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 15-7-18 หรือปุ๋ยปาล์มสูตร 15-15-15 กับปุ๋ยสูตร 8-24-24
โทรศัพท์ 035-439676, 089-7455909